ufabet

Internal source of fund – แหล่งทุนภายใน

แหล่งเงินทุนภายใน (Internal Sources of fund) เป็นแหล่งเงินทุนในอุดมคติ (Ideal)

ของผู้ประกอบการหลายๆ คน เพราะการที่จะมีแหล่งเงินทุนภายในได้นั้น แปลว่าธุรกิจได้ทำกำไรมากพอจนมีกำไรสะสม หรือมีทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินทุนได้นั่นเอง แต่นั่นก็หมายความว่า หากผู้ประกอบการเลือกใช้เงินทุนภายในในการลงทุนกับกิจการ ผู้ประกอบการก็อาจจะยังไม่ได้รับผลตอบแทนหรือ กำไรสะสมจากการบริหารกิจการนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้แหล่งเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งเงินทุนภายนอก หรือแหล่งเงินทุนภายใน ก็ต้องได้มาหรือเสียไปซึ่งโอกาสอื่นๆ เช่น เลือกใช้แหล่งเงินทุนภายนอก ผู้ประกอบการอาจจะได้ปันผลออกไปใช้จ่าย หรือลงทุนในเครื่องมือทางการเงิน (Financial Instrument) อื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามแต่ตกลง

ในขณะเดียวกันหากผู้ประกอบการใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายใน ผู้ประกอบการก็จะเสียโอกาสในการนำเงินทุนภายในไปกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอย่างอื่น ถือเป็นค่าเสียโอกาสไปในกรณีนี้ (Opportunity cost)

ufabet

แหล่งเงินทุนภายในมีดังต่อไปนี้

  • แหล่งเงินทุนที่พื้นฐานที่สุดในการประกอบกิจการคือแหล่งเงินทุนที่มาจากกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ การบริหารให้กิจการสามารถทำราคาขายให้ได้มากกว่าค่าใช่จ่ายในการผลิตและ/หรือต้นทุนค่าบริการ อีกนัยหนึ่งคือกิจการสามารถทำกำไรสุทธิให้คงเหลือในบัญชีกำไรสะสมของกิจการได้
    กำไรสะสมส่วนนี้ หากเจ้าของกิจการต้องการนำมาปันออกให้แก่หุ้นส่วนก็ได้ แต่ในกรณีที่ต้องการใช้ทุนเพิ่มเพื่อพัฒนาธุรกิจ หรือลงทุนเพิ่มในธุรกิจเพื่อเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การนำกำไรส่วนนี้มาลงทุนต่อถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะไม่มีต้นทุนทางการเงินเช่น ดอกเบี้ย ที่จะสร้างภาระให้มากขึ้น อีกทั้งยังถือเป็นแหล่งเงินทุนที่มีสภาพคล่องสูง (High liquidity) อีกด้วย
  • แหล่งเงินทุนภายในอีกหนึ่งแหล่งมาจาก ทรัพย์สินของกิจการ โดยแบ่งออกเป็น
    • 2.1 ทรัพย์สินหมุนเวียน (Current assets) คือทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินสดที่กิจการสำรองไว้ ลูกหนี้การค้า หรือสินค้าคงเหลือเป็นต้น การเปลี่ยนทรัพย์สินหมุนเวียนให้เป็นแหล่งเงินทุนอาจทำได้โดยการลดจำนวนลูกหนี้การค้าโดยการลดระยะเวลาการให้เครดิต หรือการเร่งการขายสินค้าคงเหลือหรือลดจำนวนการสต็อกสินค้า เป็นต้น วิธีนี้ผู้ประกอบการอาจต้องคำนึงถึงสัดส่วนทรัพย์สินหมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียนด้วย เพราะหากสัดส่วนของทรัพย์สินหมุนเวียนมีน้อยกว่า กิจการนั้นอาจประสบปัญหาการหมุนเงินไม่ทันเนื่องจากขาดสภาพคล่อง
    • 2.2 แหล่งเงินจากสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets) เป็นทรัพย์สินที่กิจการใช้เพื่อดำเนินงาน มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างสินทรัพย์ถาวรเช่น ที่ดิน อาคาร และเครื่องจักร เป็นต้น ทรัพย์สินประเภทนี้จะมีสภาพคล่องน้อย นั่นก็คือต้องใช้ระยะเวลานานในการเปลี่ยนสถานะเป็นเงินสด การจัดหาเงินทุนจากทรัพย์สินประเภทนี้มาจากการขายทรัพย์สินออกไป อาจจะเป็นการขายทรัพย์สินที่เสื่อมสภาพแล้วหรือยังใช้งานได้อยู่ และได้มาซึ่งเงินในการจำหน่ายสินทรัพย์นั้นออกไป การเลือกขายทรัพย์สินประเภทนี้ ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการด้วยตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการขายเครื่องจักรที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าของบริษัท หากขายเพื่อลงทุนในเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ย่อมเป็นผลดีต่อบริษัท แต่ถ้าหากขายออกไปแล้วการผลิตเกิดหยุดชะหงัก ก็จะส่งผลเสียต่อธุรกิจได้เป็นอย่างมาก

ufabet

  • ค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expense) เป็นค่าใช่จ่ายทางบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินถาวร (Fixed assets) เช่น เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นๆ อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงกันว่า ค่าเสื่อมราคาสามารถเป็นแหล่งเงินทุนได้อย่างไร เพราะเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในทางบัญชี ที่ไม่มีการจ่ายเงินสดออกไป (Cash disbursement) จริง แต่บางทฤษฎีกล่าวว่า ค่าเสื่อมราคาเป็นแนวคิดของการกันเงินเอาไว้ส่วนหนึ่งโดยการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีส่งผลให้กำไรลดลง แต่ไม่มีการจ่ายเงินสดออกไปจริง มองอีกมุมหนึ่งคือกิจการได้สำรองเงินในส่วนที่บันทึกเป็นค่าเสื่อมราคาไว้เพื่อใช้ในอนาคตนั่นเอง เป็นทฤษฎีแนวคิดทางบัญชีแบบ Conservative Approach หรือ นโยบายแบบระมัดระวัง

ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ hvar-apartment-sucuraj.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated